ความเป็นมาของกองทุนยุติธรรม กระทรวงยุติธรรมได้จัดตั้งกองทุนยุติธรรมขึ้นในปี พ.ศ. 2549 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การสนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือประชาชนในด้านกฎหมาย การฟ้องร้อง การดำเนินคดี หรือการบังคับคดี การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือไม้ได้รับความเป็นธรรม หรือประชาชนตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญรวมถึงผู้ที่กระทำการใดๆเพื่อปกป้องคุ้มครอง หรือรักษาทรัพยากรธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมโดยเป็นไปตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2553 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กองทุนยุติธรรมช่วยเหลืออะไรท่านได้บ้าง การสนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่ายแก่ผู้ยากไร้ผู้เดือดร้อนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ดังนี้ 1.การวางเงินประกัน การปล่อยตัวชั่วคราว 2.การจ้างทนายความในคดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครองหรือการบังคับคดี 3.ค่าธรรมเนียมขึ้นศาลและค่าธรรมเนียมอื่นๆ ในคดีแพ่งและคดีปกครอง 4.ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์ ฯลฯ 5.ค่าใช้จ่ายอื่นของผู้ขอรับการสนับสนุน เช่น ค่าพาหนะเดินทาง 6.ค่าใช้จ่ายอื่นเพื่อคุ้มครองช่วยเหลือให้ได้รับความปลอดภัยจากการก่ออาชญากรรม 7.ค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดทางอาญา.. 8.ค่าใช้จ่ายอื่นๆเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนยุติธรรม หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาในการขอรับสนับสนุนกองทุนยุติธรรม 1.ความสามารถในการให้ความช่วยเหลือของกองทุนยุติธรรม 2.พฤติกรรมและข้าเท็จจริงของผู้ขอรับการสนับสนุนต้องเป็นเรื่องการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพหรือปกป้อง รักษาประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน 3.ลักษณะของการกระทำผิด หรือการกระทำละเมิดที่มีผลกระทบต่อประชาชนให้ได้รับความเสียหายหรือเกิดภัยพิบัติต่อส่วนรวมหรือความมั่นคงของประเทศ 4.ลักษณะของการกระทำผิดหรือการกระทำละเมิดที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนหรือกระบวนการยุติธรรมของประเทศ 5.เรื่องที่มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนความมั่นคงของประชาชน หรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 6.พฤติกรรม ข้อเท็จจริงและเงื่อนไขอื่นๆ ตามสถานการณ์ สภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น เช่นการช่วยเหลือให้พ้นจากการกระทำของผู้มีอิทธิพลหรือการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นต้น 7.ความสามารถทางเศรษฐกิจของผู้ขอรับการสนับสนุน 8.การสนับสนุนของกองทุนนี้ให้คำนึงถึงโอกาสที่ผู้ขอรับการสนับสนุน จะได้รับการช่วยเหลือหรือบรรเทาความเสียหายตามกฎหมายอื่นด้วย 9.การสนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือประชาชนเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนยุติธรรมแท้จริง อาจมีการกำหนดเงื่อนไขเป็นการเฉพาะตามที่คณะกรรมการกำหนด หลักฐานในการขอรับสนับสนุนกองทุนยุติธรรม 1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ 2.สำเนาทะเบียนบ้าน 3.สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ สกุล (ถ้ามี) 4.หนังสือมอบอำนาจ (กรณีรับมอบอำนาจ) 5.หลักฐานอื่น เช่น สำเนาหมายจับ สำเนาคำร้องขอฝากขัง คำให้การบันทึกการจับกุม บันทึกการสอบสวน หรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับคดี เช่นสำเนาสัญญาต่างๆ สำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาคำฟ้อง คำพิพากษา เป็นต้น •ในการขอรับสนับสนุนกองทุนยุติธรรม ให้ระบุความต้องการให้ชัดเจนและบรรยายรายละเอียดข้อเท็จจริงมาให้ครบถ้วนที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อความรวดเร็วในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามแบบฟอร์ม กทย. 1 ขั้นตอนในการดำเนินงานกองทุนยุติธรรม 1.ผู้มีสิทธิยื่นคำขอรับสนับสนุนกองทุนยุติธรรม ณ สำนักงานยุติธรรมจังหวัด 2.เจ้าหน้าที่รับคำขอและสอบถามพฤติการณ์ข้อเท็จจริงเบื้องต้น 3.แสวงหาข้อเท็จจริงและทำความเห็น 4.คณะอนุกรรมการพิจารณา 5.แจ้งผลการพิจารณา ดังนี้ 5.1กรณีได้รับการอนุมัติ -แจ้งผลการพิจารณาต่อผู้ยื่น -ดำเนินการตามคำวินิจฉัย -ดำเนินการตามสัญญา -จัดเก็บสำนวน 5.2กรณีไม่ได้รับการอนุมัติ -ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ -แสวงหาข้อเท็จจริงและทำความเห็น -คณะอนุกรรมการพิจารณา -แจ้งผลการพิจารณา